ธเนศ กวินเมธากุล
Support worker for people with special needs
ความคิดว่าอยากจะย้ายประเทศไม่ใช่ความคิดแรกของ ธเนศ กวินเมธากุล ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ออสเตรเลียมากว่า 16 ปีแล้ว
เขาเป็นเหมือนเด็กไทยส่วนใหญ่ที่มีโอกาสและเลือกไปฝึกฝนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม หลังจากเรียนจบด้าน IT Security ที่เมืองไทย
เส้นทางชีวิตที่ได้เจอกับภรรยาทำให้เขาตัดสินใจปักหลักที่ออสเตรเลียเป็นการถาวร
สิ่งที่ทำให้ชอบอยู่เลยก็คือแฟนอยากอยู่ที่นี่ แล้วเพิร์ทก็เป็นเมืองที่เงียบๆ ประชากรไม่เยอะ รถไม่ติด ธรรมชาติก็ยังสวยอยู่
มันเป็นอะไรที่น่าอยู่ ผู้คนก็เป็นมิตร
หลังจากตัดสินใจย้ายประเทศไปอยู่ออสเตรเลีย เขาจึงซื้อบ้านและผ่อนกับภรรยาอย่างเป็นแบบแผน เมื่อผ่อนบ้านเสร็จ
จึงเริ่มคิดเรื่องการลงทุน โดยเริ่มจากกองทุนหุ้นพื้นฐานที่ออสเตรเลีย และมองหาแผนการลงทุนที่เมืองไทย ซึ่งถือเป็นการกระจายความเสี่ยง
เพราะเขารู้จักตัวเองเป็นอย่างดี
“ผมเป็นคนที่ชอบอะไรที่ไม่หวือหวา เพราะว่าอะไรที่มันขึ้นเยอะ ตอนที่ลงมันก็ลงมาเยอะเหมือนกัน หรือวันนี้ตลาดออสเตรเลียอาจจะดีมาก
แต่สิบปีข้างหน้าเราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะเงินที่ลงทุนในวันนี้นั้นวางแผนไว้เพื่ออนาคตกับครอบครัว”
“ถ้าเก็บเงินสดไว้อย่างเดียว ยังไงก็แพ้เงินเฟ้อ”
แรกๆ ตอนมีเวลาว่างก็สนุกดี แต่พอเริ่มโตขึ้น หลายๆ อย่างในชีวิตก็เปลี่ยนไป ด้วยหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ทำให้รู้ว่ามันไม่ใช่งานที่สนุกเลย ประกอบกับการเจอวิกฤตมาหลายๆ รอบ ทั้งช่วงซับไพรม์ หรือช่วงที่มีวิกฤตค่าเงินบาท แม้จะเป็นเงินไม่มากนัก แต่สำหรับเราที่เป็นนักลงทุนรายย่อยก็ถือว่าเจ็บตัวมาพอสมควร
ชีวิตที่ออสเตรเลียที่ปลูกฝังเรื่องการลงทุน
ตอนแรกเรียนจบโทที่เมืองไทยก็อยากจะพัฒนาภาษาอังกฤษก็เลยคิดว่าจะไปที่ไหนดี ระหว่างอเมริกากับออสเตรเลีย
พอดีแม่มีเพื่อนที่นี่ก็เลยมาออสเตรเลีย ที่เมืองเพิร์ทตั้งแต่ปี 2549
เรื่องงานก็เหมือนเด็กไทยทั่วไป คือทำงานที่ร้านอาหารไทยเอาไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน พอเรียนจบภาษาเราเริ่มดีขึ้น
สื่อสารได้มากขึ้นก็เลยย้ายไปทำในร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต
หลังจากนั้นมาที่ทำงานด้านปัจจุบันก็เพราะว่าแฟนเรียนด้าน Teacher Assistant เป็น Specialist เด็กออทิสติกที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้วพอดีผมเห็นเขาทำแล้วก็คิดว่ามันเป็นงานที่ดีนะ คือได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันที่เขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็เลยเริ่มทำ พอเริ่มทำแล้วก็รู้สึกว่ามันก็เป็นงานที่ไม่เลว สนุก แล้วก็ไม่มีความเครียดอะไร ก็เลยทำมาเรื่อยๆ ทำมาประมาณแปดปีแล้ว
ที่ออสเตรเลีย เขาพยายามที่จะทำให้คนลงทุนตั้งแต่อายุน้อยๆ คือเขาจะหัก 10% ของรายได้ที่คุณทำ ไปใส่ไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) แบบอัตโนมัติเลย ซึ่งคุณจะไม่สามารถถอนเงินนี้ได้เลยจนกว่าอายุจะ 60 ปี
ผมก็เข้าไปค้นคว้าดูว่าเอาไปลงทุนที่ไหนบ้าง ก็มารู้ว่าบริษัทเอาเงิน Provident Fund ไปลงทุนใน Index Fund ซึ่งมันมีความเสี่ยงต่ำแม้ว่าจะเติบโตไม่เยอะแต่ก็จะโตเรื่อยๆ สิ่งนี้มันอาจจะสร้างนิสัยความที่ค่อยๆ ลงทุนให้เติบโตให้เราไปด้วย
ลงทุนจนเรียนรู้นิสัยการลงทุนของตัวเอง
ผมสนใจในการลงทุนตอนที่ผ่อนบ้านที่ออสเตรเลียหมดแล้ว มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่าให้ซื้อบ้านอีกหลัง
แต่เราคิดหนักเพราะการจะซื้อบ้านอีกหลังต้องใช้เงินอย่างต่ำ 5 แสนเหรียญ เราก็ต้องทำงานผ่อนอีก ถ้าตกงานแล้วจะเอาเงินที่ไหนผ่อน ก็เลยคิดถึงการลงทุนในอะไรที่มันเล็กลงมาหน่อย เลยเลือกลงทุนในหุ้นเพราะว่าไม่ต้องใช้เงินเยอะมาก และได้มีโอกาสไปคุยกับ Financial Advisers แล้วก็ลงทุนในกองทุน S&P500 ได้เรียนรู้เยอะมากจากการลงทุนครั้งแรกของตัวเอง
ตอนนั้นเราลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่มาแรงในช่วงโควิด พอมันขึ้นเยอะๆ เราก็ขาย แล้วก็กระโดดไปลงทุนอีกกองหนึ่ง พอหุ้นมันตกเราก็กระโดดไปหาอีกกองหนึ่ง สรุปขาดทุน เลยคิดว่าเราจะมาคอยกระโดดไปกระโดดมาแบบนี้ไม่ได้แล้ว เราไม่ได้มีเวลามานั่งจ้องหน้าจอทุกวัน ก็เลยเปลี่ยนมาลงทุนใน Index Fund แนว DCA ไปเรื่อยๆ
แล้วภาษีที่นี่เยอะมาก คือมี Capital Gain Tax เพิ่มขึ้นมาจาก Income Tax อีกทีหนึ่ง ซึ่งถ้าเอารายได้ของผมเป็นตัวอย่างแล้วคิดภาษี On Top ไปอีก ก็น่าจะโดนภาษีประมาณ 42% จากกำไรที่เราได้ คนออสเตรเลียเลยมักลงทุนแบบถือยาวๆ ไม่ค่อยมีการซื้อมาขายไป เพราะว่ารัฐบาลกำหนดนโยบายเอาไว้ เพราะไม่อยากให้คนเล่นหุ้นเหมือนเป็นการพนัน แต่อยากให้ลงทุนในบริษัทที่คิดว่ามีโอกาสเติบโตแล้วให้เงินลงทุนเติบโตไปกับบริษัทมากกว่า
กระจายความเสี่ยง และเลือกที่ที่ค่าธรรมเนียมสมเหตุสมผล
ผมรู้จัก Jitta Wealth จากการดูคลิปใน YouTube แล้วเห็นคุณเผ่า (ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO ของ Jitta Wealth) พูดเรื่อง Global ETF เรื่องลงทุนในหุ้นทั่วโลก ในหลักการที่ว่าการขายสินทรัพย์หนึ่งแล้วไปซื้อสินทรัพย์หนึ่งด้วย AI ผมว่ามันเป็นอะไรที่ฉลาดมาก ก็เลยสนใจและเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับ Jitta Wealth เพิ่มเติมและผมอยากกระจายความเสี่ยงด้วย เพราะว่าส่วนหนึ่งเรามีกองทุน Provident Fund ที่ออสเตรเลียอยู่แล้ว ถ้าจะเอาเงินมากองที่ออสเตรเลียอย่างเดียวเราก็กลัวความเสี่ยง ก็เลยอยากแบ่งไปลงทุนที่ไทยด้วยเพราะว่าอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้
ผมลงทุนกับ Jitta Wealth ในนโยบาย Thematic ETF ตั้งแต่ช่วงมกราคมปี 2564 เป็นช่วงที่มีกำไรดีประมาณ 20% จึงขายแล้วก็ย้ายไปลงทุนแผน Jitta Ranking หุ้นจีน คือผมก็ศึกษาหาความรู้ทาง YouTube และจากหลายๆ ทางแล้วก็เอาข้อมูลมาประมวลผลว่าเราลงทุนในอะไรดี อีกปัจจัยที่ทำให้เราเลือกลงทุนกับ Jitta Wealth คือด้วยความที่ค่าธรรมเนียมของ Jiita Wealth คิดแค่ 0.5% ต่อปี คือถ้าเป็นกองทุนอื่นๆ มันก็จะมีค่าแรกเข้าหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกปีละ 2-3% ซึ่งถ้ากองทุนเราขาดทุนก็ยังต้องจ่ายตรงนี้ด้วย แต่ถ้าเราลงทุนใน Jitta Ranking ถ้าปีไหนผมขาดทุนก็ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมส่วน Performance Fee
ตอนนี้ลงทุนกับ Jitta Wealth มาประมาณหนึ่งปี รู้สึกว่าแฮปปี้นะ พอย้ายมาลงทุนใน Jitta Ranking หุ้นจีนความเหวี่ยงของพอร์ตก็ไม่แรงมากเท่ากับกองทุนอื่นๆ
ลงทุนเพื่ออนาคต ลงทุนเพื่อการเกษียณ
ตอนอายุ 55 ปี ก็อยากจะ Semi-retire คืออาจจะทำงานแค่อาทิตย์ละ 3 วัน อยากมีเวลาเที่ยวบ้าง แล้วหลังจากอายุ 55
ปีขึ้นไปก็ดูก่อนว่าพอร์ตหุ้นที่เรามีมันโตขนาดไหน
ถ้ามันเติบโตดีผมก็อาจจะเกษียณถาวรเลย ก็คุยกับแฟนว่าถ้าเราเกษียณแล้วจะไปเที่ยวกัน 3 เดือนเลย ตอนนี้คิดว่าได้กำไร 8% ต่อปีก็โอเคแล้ว แล้วพออายุ 55 ปี อาจเปลี่ยนกองทุนที่ลงทุน เพราะว่าพอใกล้อายุ 60 ปี ก็อาจจะไม่อยากมีความเสี่ยงมาก อาจจะเปลี่ยนเป็น Global ETF ที่ให้ผลตอบแทนน้อยลง แต่ความเสี่ยงก็น้อยลงเช่นกัน
ลงทุนด้วยความรู้สำคัญที่สุด
ผมก็ไม่ได้เก่งนะ แต่ถ้าให้แนะนำก็ให้หาความรู้ก่อนว่าเราอยากลงทุนแนวไหน เรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเราหาความรู้ มีความรู้ เวลาที่หุ้นลง เราก็จะรู้ว่าสาเหตุมันเกิดมาจากอะไร พอเรารู้เหตุผลเราก็จะไม่เครียดมาก แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าหุ้นตัวนี้ กองทุนนี้ตกเพราะอะไร ก็จะคิดโทษตัวเองว่าเราเลือกหุ้นผิดหรือคิดมากว่าควรจะขายหุ้นดีไหม
ดังนั้น ความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แล้วก็ต้องรู้จักตัวเองด้วยว่าคุณเป็นคนแบบไหน อยากได้ผลตอบแทนสูงๆ หรืออยากได้ผลตอบแทนน้อยๆแต่ว่าเติบโตไปแบบเนิบๆ และสุดท้ายควรใช้เงินเย็นในการลงทุน อย่างผมคือมันเป็นเงินที่เหลือ ในกรณีที่เราเสียเงินนี้ทั้งก้อนเลยก็ไม่มีผลกระทบกับชีวิต ทำให้เวลาหุ้นตกก็จะไม่เดือดร้อนมาก เราก็จะสบายใจในการลงทุน
*ศึกษาข้อมูลนโยบายการลงทุนและผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละนโยบายได้ที่ jittawealth.com
**ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คุณชลิตา ฤกษ์อำนวยโชค
คุณชลิตา ฤกษ์อำนวยโชค Portfolio Analyst ผู้มั่นใจใน ETF ที่ Jitta Wealth เลือกให้ และเดินหน้า DCA กับ Thematic DIY ผลตอบแทน +13.35%
คุณชลิตา ฤกษ์อำนวยโชค
Portfolio Analyst
คุณศิริพร วีรธีรางกูร
คุณศิริพร วีรธีรางกูร ข้าราชการพยาบาลผู้ยึดมั่นในการ DCA ปั้นพอร์ตลงทุนให้ลูก ด้วย Thematic Optimize +49.06%
คุณศิริพร วีรธีรางกูร
ข้าราชการพยาบาลผู้ยึดมั่น DCA เพื่อสร้าง Passive เป็นมรดกให้ลูก
คุณปิยะณัฐ พึ่งฮั้ว
คุณปิยะณัฐ พึ่งฮั้ว อดีต Network engineer ผู้มุ่งมั่นให้เงินทำงานด้วยการ DCA กับ Global ETF ผลตอบแทนรวม +44.45%
คุณปิยะณัฐ พึ่งฮั้ว
อดีต Network engineer ผู้มุ่งมั่นให้เงินทำงานด้วยการ DCA
คุณพิพัฒน์ รุ่งเรือง
คุณพิพัฒน์ รุ่งเรือง หนุ่มโลจิสติกส์ที่เน้นลงทุนช่วงวิกฤติ กับ Jitta Ranking หุ้นเทคฯ สหรัฐฯ ผลตอบแทนรวม +35.21%
คุณพิพัฒน์ รุ่งเรือง
หนุ่มโลจิสติกส์ที่เน้นลงทุนช่วงวิกฤต
คุณบุญตา บุตรโพธิ์
คุณบุญตา บุตรโพธิ์ ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ที่คอย DCA ใน Jitta Ranking หุ้นไทยจนผลตอบแทน +30.74%
คุณบุญตา บุตรโพธิ์
เจ้าของกิจการที่มุ่งมั่นเติมพอร์ตให้ Jitta Ranking หุ้นไทย
คุณชนะภัย จันทร์ดำ
คุณชนะภัย จันทร์ดำ พนักงานหน่วยบริการนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ลงทุนง่ายๆ ผ่าน Thematic Optimize ผลตอบแทน +24.20%
คุณชนะภัย จันทร์ดำ
พนักงานหน่วยบริการนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง